- เสื้อยืดป้ายปั๊มคอเริ่มต้นเมื่อใด ?
ป้ายปั๊มคอเริ่มเปิดตัวแรกๆจำนวนมากในปี 2002 โดย Hanes หนึงจากแบรนด์หลักรุ่นบุกเบิก โดยมีMichael Jordan เป็นโฆษกของ Hanes โดยมีการแจ้งให้เราทราบว่าทุกอย่างจะโอเคโดยไม่มีป้ายห้อย
2. ใครเป็นผู้คิดค้นป้ายปั๊มคอ?
Hanes ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Sara Lee Corporation ได้คิดค้นเสื้อยืดแบบป้ายปั๊มคอ โดยพบว่าป้ายเล็กๆ ที่เย็บติดเข้ากับคอเสื้อตั้งแต่ปี 1920 ระคายเคืองผิวหนังของผู้สวมใส่
3.เสื้อยืดลายกราฟิกเริ่มเมื่อไหร่?
เสื้อยืดลายกราฟิกเริ่มเป็นที่นิยมครั้งแรกในปี 1960 เมื่อมีการคิดค้นหมึกพิมพ์ใหม่ๆ ซึ่งทำให้กระบวนการพิมพ์ง่ายขึ้น
4.ตัวเลข RN เริ่มต้นเมื่อใด ?
หมายเลข Registration Number RN ถูกใช้ครั้งแรกในปี 1952 และแสดงตั้งแต่ 00101 (หมายเลขแรก) ถึง 04086 (หมายเลขสุดท้าย) และหลังปี 1959 ระบบการนับได้เปลี่ยนไปและเริ่มที่ 13670 เป็นต้นมา
5.เสื้อยืดพิมพ์ลายเป็นที่นิยมเมื่อใด ?
ในทศวรรษที่ 1960 เสื้อยืดพิมพ์ลายได้รับความนิยมในการแสดงออกในรูปแบบ การโฆษณา การประท้วง และของที่ระลึก ปัจจุบันนี้มีให้เลือกหลายแบบหลายสไตล์รวมถึงเสื้อคอกลมและคอวี เสื้อยืดเป็นหนึ่งในเสื้อผ้าที่สวมใส่มากที่สุดในปัจจุบัน
6.ใครเป็นผู้คิดค้นเสื้อยืด?
เริ่มจากการประดิษฐ์เครื่องถักเชิงพาณิชย์โดย William Cotton นักประดิษฐ์ชาวอังกฤษในปี 1864 ได้นำเสื้อยืดมาสู่คนทั่วไป ซึ่งช่วงเวลานั้นมีการเริ่มทำงานวันหยุดสุดสัปดาห์ที่ได้รับค่าจ้าง ซึ่งทำให้พนักงานมีสิทธิ์เลือกที่จะสวมใส่เสื้อผ้าที่ใส่สบายๆในวันหยุดได้ เสื้อยืดจึงเป็นตัวเลือกแรกๆ ต่อมาในปี 1901 บริษัท P. Hanes Knitting Company ได้เปิดตัวชุดชั้นในแบบสองชิ้นที่ดูคล้ายกับเสื้อยืดสีขาวในปัจจุบัน ชุดนี้สวมใส่โดยทหารในช่วงสงครามโลกครั้งที่หนึ่งเป็นชุดชั้นใน เดิมทีเสื้อยืดถูกมองว่าเป็นชุดชั้นในเท่านั้น ซึ่งหมายความว่าการสวมใส่ในที่สาธารณะอาจดูแปลกตาในสายตาผู้คน
7.เสื้อยืด Bootleg คืออะไร?
Bootlegs แปลว่าเถื่อน ซึ่งเป็นสินค้าเถื่อนสมัยใหม่ที่ไม่ได้รับอนุญาต แต่มีการออกแบบมาตามแบบดั้งเดิม พวกเขาไม่ได้พยายามลอกเลียนแบบการออกแบบเสื้อยืดวินเทจ แต่เป็นการออกแบบที่ได้รับแรงบันดาลใจจากวินเทจ ตัวอย่างเช่นสไตล์แร็พ ผู้สวมใส่เสื้อยืดวินเทจสมัยใหม่ให้การยอมรับเสื้อยืดประเภทนี้โดยทั่วไป
8.อะไรคือ Deadstock Vintage หรือ NOS (New Old Stock)?
ใช้เพื่ออธิบายเสื้อยืดที่ผลิตออกมาในยุคอื่นและกลายเป็นสินค้าค้างในสต็อก/ขายไม่ออก และมักจะจบลงที่การจัดเก็บ ส่วนใหญ่มักอยู่ในสภาพเฟี้ยว อย่างไรก็ตาม บางครั้งสภาพการเก็บรักษาและการไม่ผ่านการซักมาก่อนงอาจส่งผลเสียต่อสภาพได้(ผ้าตาย)
9.ผ้าบางคือ (Paper-Thin / See-Through)?
ซึ่งมักจะอธิบายเสื้อยืดวินเทจ 50/50 ที่ได้รับการซักและสวมใส่อย่างหนักจนส่วนผ้าฝ้ายของเส้นใยลดลงและบางขึ้นทำให้สวมไส่สบายสำหรับประเทศแถบร้อนแบบบ้านเรา
10.ผ้าตายคือ (Dry Rot / Acid Rot / Sulfer Rot) ?
ผ้าตาย เป็นปฏิกิริยาเคมีที่ส่งผลต่อเสื้อยืดผ้าฝ้าย 100% สีดำ หมึกจะกัดกร่อนเส้นใยและอ่อนตัวลงเนื่องจากระดับค่า pH/ความเป็นกรดสูง ในบางกรณีอาจฉีกขาดได้เหมือนกระดาษ
11.ผ้า 50/50 คือ ?
คือเสื้อยืดที่มีส่วนผสมของผ้าสองชนิดในอัตราที่เท่ากัน 50% cotton และ 50% polyester แห้งเร็วยับยาก ไม่หนาจนเกินไป เป็นที่นิยมของวัยรุ่นไทยส่วนใหญ่ทางภาคใต้ของไทย
12.ผ้าสามเนื้อคือ (Tri-Blend)?
เป็นเสื้อยืดที่มีเส้นใย 3 แบบ มักผสมโพลีเอสเตอร์ 50% ผ้าฝ้าย 35% และเรยอน 15%..13% หรือ 12%
13.เรยอนผสม (Rayon-Blend)?
เป็นเสื้อยืดที่ผสมผ้าฝ้าย 88% ผสมเรยอน 12% ส่วนใหญ่สามารถพบได้จากเสื้อยือของ Champion บางตัว
14.เสื้อสามส่วน คือ (Jersey / Raglan) ?
เสื้อยืดประเภทนี้มักมีช่วงแขนสีต่างกัน โดยมีความยาว 3/4 และอาจมีชายเสื้อด้านล่างที่ไม่เป็นเส้นตรง พวกเขาได้รับแรงบันดาลใจจากเสื้อเชิ้ตวอร์มอัพที่ผู้เล่นเบสบอลสวมใส่
15.เสื้อยืดกระเป๋าหน้า (Pocket-Tee)?
หมายถึงเสื้อยืดที่มีกระเป๋าเล็กๆ โดยทั่วไปแล้วจะอยู่เหนือหน้าอกด้านซ้าย
16.เสื้อแขนจั๊ม (Ringer) ?
เสื้อยืดแขนจั๊มจะมี “วงแหวน” สังเกตุได้จากสีที่ต่างกันกับตัวเสื้อที่ช่วงคอและแขนที่ขมวดเข้ามาเล็กน้อย โดยทั่วไปแล้วแขนจะพอดีเช่นกันโดยมีช่องเปิดที่เล็กกว่า ตัวอย่างเช่น เสื้อยืดสีขาวอาจมีคอปกสีแดงและตะเข็บที่แขน
แหล่งอ้างอิง
Vintage T-Shirt Terminolgy and Definitions
About T-Shirt Tags Or There Lack Of
T-shirt History: From Undershirts to Custom Screen Prints
When did Graphic T-Shirts Rose to Fame
13 Tips for Identifying Vintage Clothing Labels & Tags
GOD knows best
เสื้อยืดมือสอง | เสื้อยืดวินเทจ | เสื้อยืดกระสอบ | เสื้อวินเทจลายการ์ตูน | เสื้อแขนจั๊มวินเทจ | เสื้อยืดผ้าพื้นวินเทจ | เสื้อยืดกระเป๋าหน้าวินเทจ |เสื้อวงวินเทจ | เสื้อยืดผ้าบางวินเทจ | ผ้า50/50 | ผ้า100 | ตะเข็บเดี่ยว | ตะเข็บคู่ | 60s’ | 70s’ | 80s’ | 90s’ |